เอกสารขอ Passport
รายละเอียดการทำหนังสือเดินทางธรรมดา
1.บุคคลบรรลุนิติภาวะ 20 ปีบริบูรณ์
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ
1.1. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ ฉบับจริง
(ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำทะเบียนบ้านมาด้วย)
1.2.หากมีรายการแก้ไขชื่อ-สกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย
2.ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
2.1. สูติบัตรฉบับจริง / บัตรประชาชน (ผู้เยาว์อายุ 7 ปีขึ้นไป)
2.2. ทะเบียนบ้ายฉบับจริงที่มีชื่อผู้เยาว์อยู่
2.3. บิดามารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองนำบัตรประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
-บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน ของบิดามารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง (หากชื่อ หรือ นามสกุลของบิดามารดาไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย)
-ในกรณีทีมารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่า และการจดทะเบียนสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
2.4.หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาหรือมารดาที่ไม่มา กรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้
-หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดา ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตเท่านั้น
-ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องมีบิดาหรือมารดา คนใดคนหนึ่งมาแสดงความยินยอม
2.5.เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดาเป็นต้น
2.6.ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงในกรณี
-บิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต ต้องมีมรณะบัตรฉบับจริง
-บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้
-บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้
2.7. กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของมารดาฝ่ายเดียวมาตลอดและไม่สามารถตามหาบิดาได้ ให้มีบันทึกคำให้การรับรองการปกครองบุตร(ปค.14) พร้อมบัตรประจำตัวประชนของผู้มีอำนาจปกครองมาด้วย
3.ผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุ 15ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์
3.1. บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน
3.2.ทะเบียนบ้านฉบับจริงที่มีชื่อผู้เยาว์อยู่
3.3.บิดาและมารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองนำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่
-บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน ของบิดามารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง (หากชื่อ หรือ นามสกุลของบิดามารดาไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย)
-ในกรณีทีมารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่า และการจดทะเบียนสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย
3.4.หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดาหรือมารดาที่ไม่มา กรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้
-หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดา ต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขตเท่านั้น
3.5.เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดาเป็นต้น
3.6.ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงในกรณี
-บิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต ต้องมีมรณะบัตรฉบับจริง
-บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้
-บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้
3.7. กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของมารดาฝ่ายเดียวมาตลอดและไม่สามารถตามหาบิดาได้ ให้มีบันทึกคำให้การรับรองการปกครองบุตร(ปค.14) พร้อมบัตรประจำตัวประชนของผู้มีอำนาจปกครองมาด้วย
ความหมายของผู้มีอำนาจปกครอง
– กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องลงนามต่อเจ้าหน้าที่ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้ไปทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง (กรณีผู้เยาว์อายุระหว่าง 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)
– กรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักอยู่ หากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ปกครองไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองและประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับ ต้องผ่านการรับรองจาก สอท./สกญ.(สถานทูต / สถานกงสุล) กรณีบิดามารดาหย่าตามกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงทะเบียนหย่า และบันทึกการหย่า
– ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้ทำบันทึกคำให้การจากอำเภอ/เขตยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสพร้อมแสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง
– มารดาผู้เยาว์ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยนำหนังสือรับรองการอุปการะบุตร(ปค. 14) แต่เพียงผู้เดียวจากอำเภอ/เขต มาแสดง
– ผู้เยาว์เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดาไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียวได้ เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่เพียงผู้เดียว
– บิดามารดาผู้ให้กำเนิดผู้เยาว์ที่ได้ยกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว ไม่สามารถลงนามแทนบิดามารดาบุญธรรมได้ ต้องให้บิดามารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม
– เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับเท่านั้น
ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
- ค่าจัดส่งหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ 40 บาท
หมายเหตุ จะไม่มีการคืนเงินค่าธรรมเนียมและค่าไปรษณีย์ที่ได้ชำระไปแล้วไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น“หนังสือเดินทางจัดส่งทางไปรษณีย์ประมาณ 7 วันทำการ” ได้รับเล่ม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานหนังสือเดินทาง กรมกงสุล (แจ้งวัฒนะ)
CALL CENTER หมายเลข 02 572 8442