ระบบการศึกษาในประเทศอินเดีย
ระบบการศึกษาในสาธารณะรัฐอินเดีย แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1.ระดับอนุบาล (Kindergarten)
เป็นการศึกษาในระดับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3-5 ปี ซึ่งไม่ใช่ภาคบังคับ แต่เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
2.ระดับประถมศึกษา (Primary Education)
เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งรัฐบาลอินเดียกำหนดไว้สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี อายุเฉลี่ยของเด็กที่เรียนในชั้นนี้ระหว่าง 6 – 10 ปี หรือ 6 – 11 ปี หลักสูตร 5 – 6 ปี (Grade 1 – 6 )
3.ระดับมัธยมศึกษา (Secondary Education)
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
3.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (High school Education)
สำหรับนักเรียนอายุ 11 – 14 ปี หรือ 11 – 15 ปี กำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 4 – 5 ปี (Grade 6 – 10 หรือ 7 – 10) เมื่อนักเรียนสอบผ่านจะได้รับ Secondary school Certificate
3.2 มัธยมศึกษาตอนปลาย (Higher school Education)
สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 16 – 17 ปี กำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 2 ปี (Grade 11 – 12) เมื่อนักเรียนสอบผ่านระดับนี้จะได้รับ Higher secondary Education Certificate หรือ Senior school Certificate รวมระยะเวลาศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็น 10 + 2 ปี ( เกรด 1 – 12 ) เมื่อนักเรียนจบเกรด 12 แล้ว หากประสงค์จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาจะต้องสอบผ่าน Public Exam ซึ่งดำเนินการโดย Board of Education ของรัฐแต่ละรัฐ
สำหรับนักเรียนไทยที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) จากประเทศไทยเทียบได้เป็น เกรด 12 และในการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของอินเดียนั้นไม่ต้องสอบ Public Exam ทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณารับเข้าเรียนโดยดูคะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรของนักเรียนจาก Transcript เท่านั้น
4.ระดับอาชีวศึกษา (Vocational Education)
การศึกษาในระดับนี้จัดขึ้นสำหรับผู้ที่มีความถนัดทางช่างฝีมือ หรือ วิชาชีพเฉพาะทาง ซึ่งไม่ประสงค์ หรือไม่สามารถศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาที่เปิดสอนได้แก่ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ ช่างก่อสร้าง ช่างเครื่องยนต์ การบัญชี เลขานุการ ฯลฯ ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาลและเอกชน หลักสูตรระยะสั้น 6 – 12 เดือน หลักสูตรระยะยาว 2 – 4 ปี ผู้ที่จบเกรด 10 มีสิทธิ์เข้าศึกษาได้แต่โรงเรียนเหล่านี้จะใช้ภาษาท้องถิ่นคือ ภาษาฮินดี (Hindi) ในการเรียน การสอน ดังนั้นนักเรียนไทยจึงไม่นิยมไปศึกษาระดับนี้
5.ระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
มหาวิทยาลัยในอินเดีย เป็นของรัฐทั้งสิ้น แต่ละมหาวิทยาลัยประกอบด้วย College บางแหล่งเป็นของเอกชน ซึ่งอยู่ในความควบคุมทั้งด้านหลักสูตรการศึกษาและการสอบไล่ของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ เมื่อสิ้นปีการศึกษามหาวิทยาลัยก็จะจัดสอบและมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สอบได้ การศึกษาในระดับอุดมศึกษามีดังนี้
5.1 ระดับปริญญาตรี (Bachelor Degree)
- ปริญญาตรีมี 3 ปี
หลักสูตรปริญญาตรีทั่วไปกำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 3 ปี ซึ่งได้แก่ ปริญญาตรีทางศิลปศาสตร์(B.A.) วิทยาศาสตร์ (B.SC.) พาณิชยศาสตร์ (B.Com) เภสัชศาสตร์ (B. Pharm บางแห่ง 4 ปี) แต่ยังมีหลักสูตรปริญญาตรีที่กำหนดจำนวนปีการศึกษาแตกต่างจากนี้ คือ
- ปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่ สาขาวิชาทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และ เภสัชศาสตร์ (บางมหาวิทยาลัย)
- ปริญญาตรี 5 ปี ได้แก่ สัตวศาสตร์ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมศาสตร์
หลักสูตรปริญญาตรีบางหลักสูตรจะต้องสำเร็จปริญญาตรีสาขาอื่นมาก่อนแล้วจึงมาต่อในหลักสูตรเหล่านี้อีก 3 ปี ได้แก่ หลักสูตรนิติศาสตร์(LL.B.) และ สำหรับหลักสูตรด้านการศึกษา (B.Ed.) และพลศึกษา (B.P.E.d) เรียนต่ออีก 1 ปี
หลักสูตรแพทยศาสตร์ กำหนดระยะเวลาศึกษา 4 ปี 6 เดือน หลังจากศึกษา Pre – Medical Program (หลักสูตร 1 ปี) และต้องฝึกงาน (Internship หรือ House man ship) อีก 1 ปี รวมระยะเวลาศึกษาทั้งสิ้น 6 ปี 6 เดือน(บางมหาวิทยาลัยไม่กำหนดให้เรียน Pre – Medical Program ก่อนเรียนหลักสูตรแพทยศาสตร์ ดังนั้นระยะเวลาเรียนทั้งสิ้นคือ 5 ปี 6 เดือน
5.2 ระดับปริญญาโท (Master Degree)
หลักสูตรปริญญาโทประมาณ2 ปี ต่อจากปริญญาตรี ยกเว้นสาขาวิชาการศึกษา (M.Ed.) และ พลศึกษา (M.P.Ed) ซึ่งกำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 1 ปี ต่อจากระดับปริญญาตรี
5.3 ระดับ Master of Philosophy (M.Phil) เป็นการศึกษาในระดับก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก ซึ่งกำหนดระยะเวลาศึกษาไว้ 1 ปี เป็นการศึกษาทั้ง Course work และเขียน Thesis ด้วย มหาวิทยาลัยบางแห่งได้กำหนดให้นักศึกษาต้องได้รับ M. Phil ก่อนเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก
5.4 ระดับปริญญาเอก (Doctoral Degree)
หลักสูตรปริญญาเอกประมาณ 2- 3 ปี สำหรับการเรียนการสอนนั้น สถานศึกษา บางแหล่งกำหนดให้เรียน Course Work และ เขียน Thesis แต่บางแห่งให้ทำ Research ตามหัวข้อทีอาจารย์ที่ปรึกษาอนุมัติเท่านั้น
ภาคการศึกษา
ในสาธารรัฐอินเดีย ภาคการศึกษาสำหรับนักเรียนในโรงเรียน และนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะไม่เหมือนกันและ การเปิดเรียนของแต่ละโรงเรียนอาจแตกต่างกัน ตามสภาพของภูมิภาค ที่โรงเรียนตั้งอยู่ซึ่งบางโรงเรียนอาจเปิดเร็ว หรือ ช้ากว่าทีกำหนดนี้
- ภาคการศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ
ภาคแรก ประมาณเดือน เมษายน – กรกฎาคม
ภาคเรียนที่สอง ประมาณเดือน สิงหาคม – ตุลาคม
ภาคเรียนที่สาม ประมาณเดือน ตุลาคม – ธันวาคม
- ภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัย
ภาคแรก ประมาณเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม
ภาคเรียนที่สอง ประมาณเดือน มกราคม – พฤษภาคม
ระบบการเรียนของอินเดีย
อินเดียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ ดังนั้น การเปิดและปิดภาคเรียนของแต่ละภาคจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแถบนั้น แต่โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม หรือ เดือนตุลาคม – มกราคม ของทุกปี อินเดียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบการศึกษาเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โยระบบการศึกษาของประเทศอินเดียแบ่งเป็นระบบดังนี้
ระบบการเรียนของอินเดีย
ในประเทศอินเดียจะมีระบบการเรียนแบบอังกฤษ ซึ่งในระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1. โรงเรียนระบบ CBSE (Central Board of Secondary Education)
2. โรงเรียนระบบ ICSE (Indian Certificate of Secondary Education)
โดยทั้งสองระบบนี้จะใช้ภาษาอังกฤษในการเรียน การสอนเท่านั้น และมีภาษาที่ 2 ให้เลือกคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ซึ่งความแตกต่างของ 2 ระบบคือ หนังสือเรียนจะไม่เหมือนกัน แต่เนื้อหาจะไปในทางเดียวกัน เนื่องจากทั้ง 2 ระบบขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการของอินเดียเหมือนกัน แต่แบ่งเป็น 2 ระบบ เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมาก หากมีหน่วยงานดูแลเพียงหน่วยงานเดียวจะไม่สมารถดูแลได้ทั่วถึง และประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศที่หลากหลายดังนั้นการปิดและเปิดเทอมของแต่ละโรงเรียนจึงไม่ตรงกัน โดยในอดีตโรงเรียนจะขึ้นกับระบบ CBSE เป็นส่วนใหญ่และจะสอบปลายภาคตอนเดือนมีนาคม ต่อมามีโรงเรียนที่เปิดขึ้นบนภูเขา และไปสอบปลายภาคในเดือนพฤศจิกายน เพราะในเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ หิมะตกจนไม่สามารถเปิดโรงเรียนได้ ทางรัฐบาลอินเดียจึงได้ตั้งระบบ ICSE ขึ้นมาเพื่อให้โรงเรียนที่สอบปลายภาคเดือนพฤศจิกายน มาจดทะเบียนขึ้นกับระบบนี้ แต่ในปัจจุบันระบบที่มีโรงเรียนจดทะเบียนมากที่สุดคือ CBSE โดยทั้ง 2 ระบบนี้ เมื่อเด็กเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จนจบแล้ว ก็จะได้รับอนุญาตให้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Secondary School) คือมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 4 หรือที่อินเดียเรียกว่า Class 7 – 10 ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10) เด็กจะต้องทำคะแนนให้ดีและเมื่อขึ้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม. 5 – 6 (Class 11- 12) เด็กจะต้องนำผลการสอบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มาวัดผลเพื่อเลือกสาขาที่จะเรียน ดังนี้
คะแนน 65% – 80% ขึ้นไปจะเลือกได้ทั้งสายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และสายศิลป์
คะแนน 40% – 64% สามารถเลือกสายศิลป์ได้
สำหรับเด็กที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10) จากประเทศไทยและต้องการศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (Class 11 ) ทางโรงเรียนจะดูผลการศึกษาจากมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Class 10)และพิจารณาว่าเด็กจะสามารถเข้าศึกษาต่อในสายวิชาใดได้บ้าง โรงเรียนที่ขึ้นกับกองกรรมาธิการศึกษาอินเดียทั้ง 2 ระบบนั้น ได้รับการรับรองวิทยาฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการไทยทุกโรงเรียน เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Class 12)จากอินเดียแล้วสามารถนำใบสุทธิ(Transcript) ไปขอเทียบวิทยฐานะได้ที่กรมวิชาการในกระทรวงศึกษาธิการ ทางกระทรวงศึกษาธิการจะเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 ของประเทศไทยให้เลย และสามารถนำไปเข้ามหาวิทยาลัยและวิทยาลัยทุกแห่งในประเทศไทยได้เลย และหากต้องการไปศึกษาต่อในประเทศอื่น เช่น อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ ก็สามารถนำไปเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีได้เลย หรือหากต้องศึกษาในประเทศอินเดียก็สามารถศึกษาในระดับปริญญาตรีได้เช่นกัน
การศึกษาในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ในประเทศอินเดียมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับโลกมากมาย โดยแต่ละรัฐจะมีมหาวิทยาลัยประจำรัฐอยู่ทุกรัฐ และจะมีมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ขึ้นตรงกับมหาวิทยาลัยประจำรัฐอีกมากมายและมหาวิทยาลัยประจำรัฐเหล่านี้ก็จะขึ้นกับทบวงมหาวิทยาลัยของอินเดียอีกที
ระดับปริญญาตรีใช้เวลาศึกษา 3 – 5 ปีแล้วแต่คณะที่เรียน และระดับปริญญาโทใช้เวลาศึกษา 2 ปี มหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยของรัฐมีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับมากพอ ๆ กัน และมหาวิทยาลัยจะมีโควต้าให้กับตัวแทนของตนในประเทศต่าง ๆ เพื่อรับนักศึกษาต่างชาติเข้าเรียน ดังนั้นการสมัครผ่านตัวแทนที่มีโควตาอยู่จะสะดวกมาก เพราะจะได้รับการตอบรับทันที หากสมัครด้วยตนเองอาจต้องรอการตอบรับนาน 4 – 6 เดือนและโอกาสที่จะได้เข้าศึกษามีน้อย เพราะมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยต่าง ๆ มักจะรับนักศึกษาที่สมัครโดยใช้โควตาของตัวแทนก่อน
ประเทศอินเดียมีชื่อเสียงในการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรม และแพทยศาสตร์ มากเป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชียและได้รับการรับรองวิทยฐานะ โดยกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยทั้งหมด
ระบบต่างประเทศที่อินเดีย
ประเทศอินเดียยังมีการนำระบบของอังกฤษและสวิสเซอร์แลนด์มาใช้อีกด้วย คือ
- ระบบ IGCSE (International General Certificate of Secondary Education)
ซึ่งในระบบนี้จะเริ่มสอบตั้งแต่ม. 3 หรือ Class 9 โดยเมื่อนักเรียนจบม.2 หรือ Class 8 แล้ว หากจะเรียนระบบระบบ IGCSE (International General Certificate of Secondary Education) หรือเรียกอีกอย่างว่า University of Cambridge System นักเรียนจะต้องเลือกเรียน 5 วิชา เมื่อสอบผ่านครบ 5 วิชา(โดยปกติแล้วนักเรียนจะสอบผ่านได้ภายใน 2 ปี) เมื่อผ่านและจะได้ประกาศนียบัตร O Level ซึ่งเมืองไทยเทียบเท่า ม.6 และสามารถนำกลับเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้เลย เช่น มหาวิทยาลัยอินเตอร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภาคอินเตอร์ ฯลฯ แต่ถ้าน้อง ๆ ประสงค์จะไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศอื่น ๆ น้องๆ จะต้องเรียนต่ออีก 3 วิชาซึ่งเมื่อสอบผ่านอีก 3 วิชาแล้ว น้อง ๆ จะได้รับประกาศนียบัตร A Level ซึ่งใช้เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้เลย ระบบนี้น้อง ๆ จะประหยัดเวลาได้ 2 ปี หากเมื่อจบ O Level แล้วน้อง ๆ กลับมาเรียนต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
- ระบบ Matriculation
ระบบนี้เป็นระบบเก่าแก่ที่ใช้เฉพาะในรัฐ Tamil Nadu โดยระบบนี้จัดการสอบโดยสำนักงานศึกษาของรัฐ Tamil Nadu เอง โดยไม่ได้จัดสอบทั่วประเทศแบบระบบ CBSE และ ICSE ดังนั้นการยอมรับจะต่างกัน แต่ทั้ง 3 ระบบ (CBSE, ICSE, Matriculation) เมื่อจบเกรด 12 ก็สามารถนำกลับมาเทียบกับกระทรวงศึกษาไทยได้เลยโดยไม่ต้องสอบอะไรอีก
- ระบบ Pre University
ระบบนี้ใช้สำหรับน้อง ๆ ที่จบ ม.4 หรือ ม.5 จากเมืองไทย หรือที่ไหนก็ได้ในโลกก็สามารถไปต่อได้ โดยจะเรียนที่ Bangalore University เมื่อจบ ม. 4 จากเมืองไทยก็จะเรียน 2 ปี สามารถเข้ามหาวิทยาลัย Bangalore University หรือ มหาวิทยาลัยอื่นของอินเดียได้เลย แต่ระบบนี้เหมาะกับนักเรียนที่จบ Pre University และจะเข้ามหาวิทยาลัยในอินเดียเท่านั้นหรือจะไปเรียน ม. 5 – ม. 6 แล้วกลับมาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ให้เลือกเรียนระบบ CBSE, ICSE หรือ IGCSE จะดีกว่า
ช่วงเวลาที่เปิดรับสมัครนักเรียนและนักศึกษา
อินเดียเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ดังนั้นการเปิดและปิดภาคเรียนของแต่ละภาคจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแถบนั้น แต่โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม หรือ เดือนตุลาคม – มกราคมของทุกปี