เรียนต่อมาเลเซีย กับ การเตรียมข้อมูลด้านสุขภาพ
การไปศึกษาต่อต่างประเทศ นักเรียน ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการค้นหาข้อมูลเพื่อเลือกหลักสูตร สถาบันการศึกษา ประมาณการค่าใช้จ่าย การเตรียมทักษะภาษาต่างประเทศ การสมัครเรียนและการยื่นขอวีซ่า โดยอาจลืมนึกไปว่าข้อมูลด้านสุขภาพของนักเรียนเองก็เป็นสิ่งสำคัญในการสมัครเรียนหรือการยื่นขอวีซ่า หากไม่ได้เก็บข้อมูล เอกสารบันทึกสุขภาพไว้ก็จะทำให้เกิดความล่าช้าในการกรอกประวัติส่วนบุคคลด้านสุขภาพตามที่สถาบันการศึกษากำหนด
จากประสบการณ์หลายปีต่อเนื่องของผู้เขียน ในการแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ สมัครเรียนยื่นขอวีซ่า ให้นักเรียนไปศึกษาต่อประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินเดีย และมาเลเซีย จึงขอแนะนำเรื่องการเตรียมข้อมูลด้านสุขภาพของนักเรียนโดยขอยกตัวอย่างกรณีไปศึกษาต่อยังประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกับไทยและเป็นประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเช่นเดียวกับประเทศไทย
ข้อมูลด้านสุขภาพที่ทางสถาบันการศึกษาในมาเลเซียต้องการ
1.ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนตามกำหนด (Administration of scheduled imminisations)
เป็นการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการฉีดวัคซีน ได้แก่ ชื่อวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ และ วันเดือนปี ที่ได้รับการฉีดวัคซีน แต่เนื่องจากการได้รับวัคซีนตามแผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทย ซึ่งเป็นวัคซีนพื้นฐานจะเริ่มตั้งแต่ แรกเกิด จนถึง อายุ 12 ขวบ (นักเรียน ป.6) ดังนั้นหาก ผู้ปกครองไม่ได้เก็บสมุดบันทึกสุขภาพไว้ก็จะไม่มีรายละเอียดเพียงพอ ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนตามกำหนดที่สถาบันการศึกษามาเลเซียต้องการ ตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การฉีดวัคซีนตามกำหนด (Administration of scheduled imminisations)
2.การเปิดเผยข้อมูลสุขภาพสำหรับการสมัครเรียน (Health Declaration form for Applicants)
โดยยืนยันว่า ข้าพเจ้าขอประกาศว่าข้าพเจ้าปราศจากโรค/อาการดังต่อไปนี้
(I hereby declare that I am free from the following diseases/conditions.) ตัวอย่าง ตามตารางที่ 2
แบบประกาศสุขภาพสำหรับการสมัคร
ข้าพเจ้าขอประกาศว่าข้าพเจ้าปราศจากโรค/อาการดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2 แบบประกาศสุขภาพสำหรับการสมัคร (Health Declaration form for Applicants)
ข้อความด้านล่างของตารางประกาศสุขภาพสำหรับการสมัครจะมีรายละเอียดที่ให้ผู้สมัครรับทราบและลงนามยอมรับ ยกตัวอย่างเช่น ข้าพเจ้าจะส่งตัวเองเข้ารับการตรวจสุขภาพหลังเดินทางมาถึง ตามภาคบังคับระเบียบของประเทศมาเลเซีย, กรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการใด ๆ ที่เห็นว่าไม่เหมาะกับการศึกษา ข้าพเจ้าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางออกจากประเทศมาเลเซีย และ จะปฏิบัติตามข้อกำหนดการเข้าเมืองบนบัตร Visit pass และ การออกนอกประเทศมาเลเซียก่อนบัตรหมดอายุ หรือ กำหนดเวลาใดๆ ที่มอบให้ข้าพเจ้า แล้วแต่ว่าอย่างใดจะมาถึงก่อน กรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีเงื่อนไขใดๆ ที่ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องย้ายออกจากมาเลเซีย แต่ต้องได้รับการรักษาพยาบาล และ เลือกที่จะอยู่ต่อที่มาเลเซียเพื่อเรียนต่อ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องโดยตรงและโดยอ้อม ต่อการจัดการทางการแพทย์ , ข้าพเจ้าขอยืนยันว่า EMGS Panel Clinic/University Health จะไม่รับผิดชอบในลักษณะใดๆ หรืออะไรก็ตามจาก EMGS Panel Clinic/University Health ที่รับรองสถานะทางการแพทย์ของข้าพเจ้าว่าเหมาะสมที่จะเรียน หรือ อาศัยอยู่ในมาเลเซียทั้ง ๆ ที่มีสภาพร่างกายตามที่อธิบายไว้ข้างต้น ข้าพเจ้าตกลงว่า EMGS Panel Clinic/University Health พ้นจากการสูญเสียหรือความรับผิดใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียนี้ และตกลงที่จะชดใช้ค่าเสียหายและป้องกันไม่ให้ EMGS Panel Clinic/University Health สูญเสีย หรือรับผิดชอบใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจนี้
3.ประวัติการฉีดวัคซีนของนักเรียน ค้นหาได้จากไหน
หน่วยงานด้านสาธารณสุขที่รับผิดชอบในการฉีดวัคซีน ได้แก่ โรงพยาบาล สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นต้น ตามปกติแล้ววัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) และวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (HB) จะได้รับการฉีดจากโรงพยาบาลที่เด็กคลอด จากนั้นวัคซีนเข็มต่อไปจะอยู่ในความรับผิดชอบของ สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่อยู่ใกล้บ้าน
วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทย รายละเอียดตามตารางที่ 3
ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนตามกำหนดจึงมีประโยชน์ ทั้งในด้านการเข้ารับวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้ครบถ้วน ของ บุตรหลาน และใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการสมัครเรียน สมัครยื่นขอวีซ่า ในการศึกษาต่างประเทศ อีกด้วย ข้อมูลการฉีดวัคซีนตามกำหนดท่านสามารถดูได้จาก สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ที่จัดทำโดย กรมอนามัย และสำนักงาน สปสช.ซึ่งคุณแม่จะได้รับ และเริ่มบันทึกข้อมูล จากสถานพยาบาลตั้งแต่วันที่เข้ารับการฝากครรภ์ ดังนั้นควรเก็บรักษาไว้เพื่อประโยชน์ดังกล่าวแล้วข้างต้น และสิ่งที่จะต้องเตรียมเพิ่มเติมในสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 คงหนีไม่พ้นเรื่องหนังสือรับรองการฉีดวัคซีน Covid-19 ที่ออกให้โดยกระทรวงสาธารณสุขนั่นเอง
สนใจบริการ เยี่ยมชมโรงเรียน สมัครเรียน ขอวีซ่า
ติดตามประสานงานระหว่างเรียนโทร 0 7728 7111 ,
08 5 791 9111 (อ.สมนึก) Line ID : somnoek
ผู้เขียนแปลเรียบเรียง
สมนึก ชูสุวรรณ
ค.อ.บ. พระจอมเกล้าลาดกระบัง
น.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วท.ม.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ขอบพระคุณแหล่งข้อมูล:
1.Pelita International School, Penang, Malaysia
2.Universiti Sains Malaysia: USM Penang, Malaysia
3.กรมอนามัย และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)