เรียนหลักสูตร ACE ของสหรัฐอเมริกาในโรงเรียนไทย อีกทางเลือกหนึ่งของนักเรียนไทย
ตามที่รัฐบาลมาเลเซียได้ขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการการควบคุมทางสังคม (Malaysia Movement Control Order :MCO) ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2020 ในช่วงเวลาเดียวกันก็ยังไม่เปิดพรหมแดนรับชาวต่างชาติ เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ดังนั้นนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาต่อในประเทศมาเลเซีย ซึ่งเดินทางกลับมายังประเทศไทยตั้งแต่ กลางเดือน มีนาคม 2020 ก่อนถึงกำหนดการประกาศใช้ MCO และการ Lockdown อันเกิดจากผลกระทบจาก Covid-19 ของรัฐบาลมาเลเซีย
ผู้เขียนมีโอกาส แนะแนวการศึกษา สมัครเรียน และ ติดตามประสานงานระหว่างเรียนให้นักเรียนไทยไปศึกษาต่อ ยังประเทศมาเลเซียมาเป็นเวลาหลายปีต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (High School) ทำให้ทราบว่าวิกฤต Covid-19 นี้ ส่งผลให้นักเรียนได้รับผลกระทบต่อโอกาส และความต่อเนื่องทางการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง การแก้ปัญหาจากผลกระทบดังกล่าว ก็มีหลายวิธี ที่นักเรียน ผู้ปกครอง ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากัน ตัวอย่างเช่น
- การเรียนกับสถาบันเดิมในมาเลเซียผ่านทางระบบออนไลน์ ก็อาจเจอปัญหา อุปสรรค อีกเช่นกัน ทั้งนี้อาจเกิด นักเรียนซึ่งไม่พร้อมหรือไม่คุ้นเคยกับการเรียนผ่านออนไลน์ จากผู้ปกครองซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องเวลาในการควบคุมดูแลบุตรหลานให้เข้าสู่ระบบการเรียนออนไลน์อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาด้านเทคนิคของเครือข่ายออนไลน์ และประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของแต่ละสถาบันการศึกษาในมาเลเซีย
- การย้ายกลับมาเรียนในประเทศไทย
2.1 โรงเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กรณีนี้นักเรียน
ต้องนำผลการเรียนจากสถานศึกษาที่เคยศึกษาในมาเลเซียมายื่นเพื่อเทียบรายวิชาโดยโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา และต้องเรียนรายวิชาเพิ่มเติมที่ไม่มีเรียนในมาเลเซีย เช่นภาษาไทย สังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ เป็นต้น เพื่อปรับให้เข้ากับโครงสร้างของหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการไทย นักเรียน ผู้ปกครอง ต้องติดต่อหาโรงเรียนที่จะเข้าเรียนใหม่ การรับเข้าเรียนขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละโรงเรียนเพราะนักเรียนจะต้องปรับเปลี่ยนระดับชั้นเรียนไปตามรายวิชาที่ต้องเรียนเพิ่มเติมจนครบตามหลักสูตร
2.2 โรงเรียนนานาชาติ (International School) เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งเพราะนักเรียนที่เคยเรียนในต่างประเทศมีทักษะด้านภาษาอังกฤษพอสมควรแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายทั้งค่าเรียนและค่าครองชีพ ต้องนำมาประกอบพิจารณาด้วยเช่นกัน เพราะส่วนใหญ่โรงเรียนนานาชาติในเมืองไทยมักตั้งอยู่ในเมืองธุรกิจ เมืองใหญ่ ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทั้งค่าเรียนและค่าครองชีพที่สูงตามไปด้วย
2.3 เรียนการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) คุณสมบัติก็ต้องเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษากำหนด เช่น ผู้สมัครเรียนต้องพ้นเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับหรืออายุ 16 ปีขึ้นไป กรณีนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และยังไม่จบการศึกษาภาคบังคับนั้น สามารถเรียน กศน.ได้แต่ต้องมีหนังสือส่งตัวจากเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อจัดการเรียนการสอนให้มีระยะเวลาเท่ากับเด็กวัยเดียวกัน และต้องเรียนครบจำนวนหน่วยกิต ตามโครงสร้างของหลักสูตรของ กศน. นอกจากนั้นผู้สมัครต้องไม่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในระบบโรงเรียนหรือนอกระบบโรงเรียน เป็นต้น
3. การเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเทียบวุฒิ ม.ปลาย เช่น GED (General Education Development) รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
https://www.sjworldedu.com/th/blog/ged-test-for-high-school-students-part-1/
4. เรียนหลักสูตร ACE ของสหรัฐอเมริกาในโรงเรียนไทย อีกทางเลือกหนึ่งของนักเรียนไทย ผู้เขียนได้รับการแนะนำจากเพื่อนร่วมงานด้านการแนะแนวการศึกษาต่างประเทศ ให้เข้าเยี่ยมชมสถานศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตร ACE ในเมืองไทยแห่งหนึ่ง คือ Little Lamb School จังหวัดชุมพร ทั้งนี้เพื่อนผู้แนะนำได้ย้ายนักเรียน ที่กำลังเรียนอยู่ในมาเลเซีย ทั้งลูก และนักเรียนในความดูแลในฐานะ Host Family มาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ ผมจึงเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียน โดยได้รับการต้อนรับ และให้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์ต่อการแนะแนวการศึกษาเป็นอย่างดีจากผู้บริหาร ครู และ เจ้าหน้าที่ ของโรงเรียน ได้เข้าชมบรรยากาศการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนถือเป็นโอกาสดีมาก ด้วยความสนใจผมจึงมาศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จึงขอแบ่งปันให้นักเรียน ผู้ปกครองได้ทราบเป็นข้อมูลด้วย รายละเอียดดังนี้
4.1 ทำความรู้จักหลักสูตร ACE
ACE ย่อมาจาก Accelerated Christian Education เป็นหลักสูตรจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่รู้จัก ยอมรับระดับสากล ทั่วโลก มีโรงเรียนที่ใช้หลักสูตร ACE ทั้งที่เปิดสอนในโรงเรียน และการศึกษาโดยครอบครัวที่คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองจัดขึ้นเพื่อบุตรหลานซึ่งเรียกว่า โฮมสคูล (Home school) จากข้อมูลพบว่า 147 ประเทศทั่วโลก และสถานศึกษามากกว่า 6,000 แห่งที่ใช้หลักสูตรนี้ ACE พัฒนามาตั้งแต่ ปี 1970 โดย ดร.โดนัลด์ ฮาวเวิร์ด (Dr.Donald Howard) และคณะ
4.2 สาระสำคัญของหลักสูตร ACE ที่น่าสนใจจากการเยี่ยมชมโรงเรียนและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้ทราบว่า สาระสำคัญของหลักสูตร ACE ที่น่าสนใจ เช่น
- Individualization การตอบสนองให้สอดคล้องความต้องการของนักเรียนในรายบุคคล ในส่วนนี้จะแตกต่างจากระบบการศึกษาทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่ครูจะทำหน้าที่สอน นักเรียนเป็นผู้ฟัง แต่ในหลักสูตร ACE นักเรียนจะเป็นผู้เรียนรู้อย่างแท้จริง โดยมีครูเป็นโค้ช (Coach) คอยดูแลความเรียบร้อย การกระตุ้นเพื่อสร้างแรงจูงใจเชิงบวก การดึงศักยภาพของนักเรียนออกมา เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ ที่สำคัญคือ การเรียนตามความสามารถของนักเรียนแต่ละคน (Individualized learning) ไม่ใช่เรียนตามอายุ เรียนช้า เร็วต่างกันไม่ได้นำมาเปรียบเทียบ ดังนั้นจึงมีการทดสอบวัดระดับความรู้ก่อนเรียนของแต่ละคน (Placement Test)
- Mastery based learning การส่งเสริม พัฒนาผู้เรียนให้รู้จริง
- Self -instructional พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- Character building การสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์
- Reading development พัฒนาการอ่านของนักเรียนอย่างแท้จริง อ่านทำความเข้าใจ ให้วิเคราะห์ สังเคราะได้ ตั้งแต่นระดับขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูง รวมถึงการอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษ
- Solid foundation for pursuing their life goals เป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีในการฝึกให้นักเรียนรู้จักการตั้งเป้าหมายในชีวิตและพยายามไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
- Character and wisdom training เป็นการเสริมสร้าง อบรมเพื่อให้เกิดอุปนิสัย วินัยเชิงบวกในตัวนักเรียน
- Design thinking class เป็นการฝึกให้นักเรียน ฟังเป็น คิดเป็น ทำงานเป็น สร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation) ได้
4.3 ระดับชั้นที่เปิดสอนของหลักสูตร ACE มีทั้งระดับอนุบาล ประถมศึกษา และ มัธยมศึกษา
4.4 ตำราแบบเรียนของหลักสูตร ACE ตำราแบบเรียนที่ใช้ในหลักสูตร ACE เรียกว่าแบบเรียน PACEs ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก Packet of Accelerated Christian Education เป็นแบบเรียนที่พัฒนาโดย องค์กร ACE School of Tomorrow ประเทศสหรัฐอเมริกา แบบเรียนจะแบ่งตามระดับชั้นของหลักสูตรเช่น อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และในแต่ละรายวิชาจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 12 เล่ม (เนื้อหาในแต่ละเล่มอาจเปรียบเหมือน 1 บทเรียนนั่นเอง) นักเรียนจะต้องเรียนรู้และผ่านการทดสอบความรู้ของแต่ละเล่มก่อนจึงจะเรียนเนื้อหาในเล่มต่อไปได้
4.5 วิชาหลักตามหลักสูตร ACE ประกอบด้วย Math (คณิตศาสตร์) Science (วิทยาศาสตร์) Social Studies(สังคมศึกษา) English (ภาษาอังกฤษ) Literature and Creative Writing (วรรณกรรมและการเขียนเชิงสร้างสรรค์) Word Building (ผู้เขียนไม่แน่ใจชื่อวิชาในภาษาไทยอย่างเป็นทางการครับ แต่ถ้าแปลตรงตัวก็หมายถึงการสร้างคำ ครับ)
รูปที่ 1 ตำราแบบเรียนของหลักสูตร ACE (PACEs)
4.6 การสอบวัดประเมินผล การเรียนแบบเรียน PACEs
- Check Up การทดสอบย่อยก่อนการเรียนเนื้อหาส่วนถัดไป
- Self -Test การประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเนื้อหาที่เรียนในบทเรียนนั้น ๆ
- PACE -Test หลังจากนักเรียนผ่านการสอบประเมิน Self-Test ครูผู้สอน (Supervisor) ทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงแล้ว จะให้ผู้เรียนสอบ PACE-Test เพื่อจะได้เรียน PACE ในเล่มถัดไป
4.7 บรรยากาศและกิจกรรมในห้องเรียน จากประสบการณ์ การเยี่ยมชมโรงเรียน ห้องเรียนในครั้งนี้ มีความประทับใจในกิจกรรมในห้องเรียนมาก รู้สึกเสียดาย สมัยเด็กเราไม่มีโอกาสได้เรียนในสภาพแวดล้อมและกิจกรรมการเรียนแบบนี้ สิ่งที่จะแบ่งปันประสบการณ์ครั้งนี้คือ ในห้องเรียนไม่ได้แยกตามระดับชั้นเรียน หรือตามอายุแต่อย่างใด ใช้ห้องเรียนรวมกันแต่ละคนมีโต๊ะเรียนพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนของตัวเอง ดังรูป
รูปที่ 2 โต๊ะเรียนพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนของตัวเอง
ภายในโต๊ะเรียนพื้นที่แยกเป็นสัดส่วนของตัวเอง เห็นส่วนประกอบต่างๆเช่น
- Goal Card บัตรการกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ของผู้เรียนผู้เรียน โดยตกลงร่วมกันกับ Coach หรือคุณครู
- Student Progress Chart แผนภูมิแสดงความก้าวหน้าของกิจกรรมตามเป้าหมาย Coach หรือคุณครูจะลงนามกำกับเมื่อนักเรียนรายงานความก้าวหน้าของงานและตรวจความถูกต้องแล้ว
- Opened PACEs แบบเรียนที่นักเรียนกำลังใช้ในการเรียนรู้
- Assignment Slip,etc ใบมอบหมายงานให้นักเรียน เป็นต้น
- ธง สำหรับนักเรียนใช้บอกสถานะของกิจกรรม หรือแสดงการร้องขอจากคุณครู
จากการสังเกตของผมพบว่าในห้องเรียนมีคุณครูหลายท่าน คงเป็นไปตามสัดส่วนข้อกำหนดมาตรฐานจากส่วนงานกลางของ ACE สหรัฐอเมริกา ไม่มีโต๊ะนั่งสำหรับคุณครู ยืนดู และพร้อมที่จะเดินไปให้ความช่วยเหลือนักเรียนตามที่ยกธงร้องขอตลอดเวลาในช่วงเวลาเรียน และทราบว่า ผู้บริหาร เจ้าของ ครู จะต้องสอบผ่านการอบรมหลักสูตร ACE ทุกท่านจึงจะได้สิทธิในการใช้หลักสูตร ACE และส่วนงานกลางของ ACE จะมาตรวจมาตรฐานต่างๆตามข้อกำหนด รวมทั้งดูประวัติการเรียนของนักเรียนทีทางโรงเรียนจะต้องเก็บไว้อย่างเป็นระบบรายบุคคลพร้อมที่จะให้ตรวจสอบ และที่สำคัญที่สุดเป็นห้องเรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษ นักเรียนทุกคนจึงต้องสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ยิ่งทำให้ผมรู้สึกมั่นใจในการศึกษาตามหลักสูตร ACE
ผมจึงมีความคิดว่านอกจากนักเรียนทั่วไปแล้ว นักเรียนไทย ที่กำลังศึกษาในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศมาเลเซีย หรือประเทศอื่น ๆ แล้วยังกลับไปเรียนในต่างประเทศไม่ได้ ด้วยผลกระทบจาก Covid-19 ควรหาโอกาสมาเข้าสู่ระบบการศึกษาตามหลักสูตร ACE และขณะนี้มีนักเรียนไทยจากมาเลเซียย้ายมาเรียนที่นี่แล้วจำนวนหนึ่ง ครับ (ผู้สนใจติดต่อตามรายละเอียดที่ปรากฎด้านล่างบทความนี้ได้เลยครับ)
รูปที่ 3 การเยี่ยมชมโรงเรียน
สนใจบริการ เยี่ยมชมโรงเรียน สมัครเรียน ขอวีซ่า และติดตามประสานงานระหว่างเรียน
ทำประกันสุขภาพนักเรียนต่างชาติ OSHC โทร 0 7728 7111 08 5 791 9111 (อ.สมนึก)
Line ID: Somnoek
ผู้เขียน เรียบเรียง
สมนึก ชูสุวรรณ
ค.อ.บ. พระจอมเกล้าลาดกระบัง
น.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วท.ม.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ขอขอบพระคุณ แหล่งข้อมูล :
Little Lamb School