Viva -Voce Examination ขั้นตอนสำคัญก่อนจบปริญญาเอกต่างประเทศ
ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมฟังและซักถามประเด็นที่น่าสนใจในหัวข้อวิจัยของนักศึกษาปริญญาเอก
ในการสอบ Viva -Voce Examination ของมหาวิทยาลัย Dr.Babasaheb Ambedkar Marathwada University, Aurangabad ประเทศอินเดีย ผ่านระบบ WebEx.มาแล้วถึง 2 ครั้ง ในการเข้าร่วมครั้งแรกค่อนข้างตื่นเต้นเพราะไม่มีความรู้เกี่ยวกับ ความหมาย ขั้นตอน กิจกรรม และความสำคัญในการสอบ Viva -Voce Examination มาก่อน จึงเป็นเหตุบันดาลใจให้ค้นคว้า เรียบเรียง เขียนบทความความฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ( Ph.D.) และผู้สนใจทั่วไป
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจความหมายพื้นฐานของคำว่า Viva voce กันก่อนครับ
- Viva voce เป็นวลีภาษาละติน ความหมายตามตัวอักษรคือ “with living voice” แต่ส่วนใหญ่มักจะแปลว่า “by word of mouth.” (ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Viva_voce)
- Viva voce หมายถึง A spoken exam for a college qualification. (ที่มา :Cambridge Advanced Learner’s Dictionary Fourth Edition) และ ความหมาย ที่อธิบายเข้าใจง่ายคือ
- Viva voce อ่านว่า (ไฝ-ฝะ-โฝ-ซิ) ความหมายคือ: ด้วยปาก (สอบไล่) ปากเปล่า เป็นคำพ้องความหมาย (Synonym) กับคำว่า Oral ดังนั้น Viva -Voce Examination ก็คือการสอบปากเปล่าหรือสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์นั่นเองครับ
(ที่มา: English -Thai Dictionary, So Sethaputra)
เมื่อได้ทราบความหมายเบื้องต้นของ Viva voce แล้ว ก็มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Viva-Voce Examinationซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนจบปริญญาเอกเป็นด๊อกเตอร์จากสถาบันการศึกษาต่างประเทศกันครับเริ่มต้นจากผู้เรียนลงทะเบียนเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยซึ่งนักศึกษาปริญญาเอกเขาเรียกว่า Research Scholar.หรือ Ph.D. Researcher. โดยใช้เวลาเรียน 3-5 ปี อาจเป็นประเภท Full time, Part time และ มีทั้งแบบเข้าชั้นเรียนซึ่งลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่างๆที่เรียกว่า Pre-Ph.D. Course Work หรือ Ph.D. Course Work ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวิชา ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) , วิชาคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานวิจัย เช่น SPSS.เป็นต้น นอกจากนั้น ก็อาจจะมีวิชาหลักบางรายวิชา ของสาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัดอยู่ และอีกส่วนหนึ่งคือวิชาสัมมนา (Seminar) เป็นการให้นักศึกษานำเสนองานวิจัย หรือ เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยที่นักศึกษาได้เสนอโครงร่างการวิจัย (Research Proposal or Synopsis) ไว้แล้วตั้งแต่ตอนยื่นใบสมัครเป็นนักศึกษา แต่มีบางมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่อาจไม่ต้องเข้าชั้นเรียน Pre-Ph.D. Course Work หรือ Ph.D. Course Work แต่จะเน้นเรื่องการทำวิจัยและนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัย (Research Progress Report) เป็นหลักหรือกำหนดให้เขียนบทความนำเสนอบทความ ตีพิมพ์ ในวารสาร การประชุมระดับนานาชาติแทน เป็นต้น
ภาระที่สำคัญ ของ Research Scholar ก็คือการทำดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation หรือ Thesis บางแห่งใช้คำว่า Thesis สำหรับวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท และใช้คำว่า Dissertation สำหรับวิทยานิพนธ์ของปริญญาเอก) ภายใต้การแนะนำของอาจารย์ผู้ดูแลดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งในอินเดียจะเรียกอาจารย์ที่ทำหน้าที่นี้ว่า Research Guide ซึ่งเอกสารดุษฎีนิพนธ์ เป็นเอกสารสำคัญที่นักศึกษาต้องทำวิจัย และแสดงผลงานการวิจัย สิ่งที่ได้ค้นพบ แล้วรวบรวมทำเป็นรูปเล่มตามข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัยและยื่นเสนอเพื่อประกอบให้มหาวิทยาลัยพิจารณาการอนุมัติให้ปริญญาทั้งนี้ก่อนจัดทำรูปเล่มนักศึกษาจะต้องส่งให้ Research Guide ตรวจความถูกต้องเหมาะสม และให้คำแนะนำก่อน จะได้แก้ไขให้สมบูรณ์
เมื่อนักศึกษาได้จัดทำเอกสารดุษฎีนิพนธ์เป็นรูปแล่มแล้ว ก็ต้องจัดทำ Final Synopsis ซึ่งเป็นการปรับปรุงสรุปย่อ เนื้อหา นำเสนอ Research Guide ขั้นตอนนี้อาจจะมีคำแนะนำจาก Research Guide ให้ปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งเพื่อนักศึกษาจะได้ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ อีกเช่นกัน จากนั้นเป็นหน้าที่ของทางมหาวิทยาลัยในการจัดหากรรมการสอบ (Examiners) เพื่อทำการสอบ Viva -Voce Examination โดยปกติแล้ว Examiners จะประกอบไปด้วย 3 ท่าน ซึ่งเป็นทั้งอาจารย์หรือนักวิชาการจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนี้
- Chairman คือประธานการสอบ อาจเป็นหัวหน้าภาควิชา (Head of Department) หรือ คณบดี (Dean) ที่นักศึกษาผู้เข้าสอบสังกัด
- Subject Expert ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาอาจมาจากอาจารย์หรือนักวิชาการภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ก็ได้
- Research Guide อาจารย์ผู้ดูแลดุษฎีนิพนธ์ของนักศึกษา
นอกจากนั้นอาจมีนักศึกษาคนอื่นๆ หรือ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปที่ทางมหาวิทยาลัยเชิญให้เข้าร่วมฟังและสอบถามได้ กรณีเป็นแบบ Open Viva -Voce Examination ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจำนวนผู้เข้ารับฟังต้องมากกว่า 20 คนขึ้นไป ดังนั้นจะเห็นว่าทั้ง กรรมการสอบ และผู้ร่วมเข้าฟังสามารถถามปัญหาแก่ผู้เข้าสอบได้ บรรยากาศช่วงถามปัญหาจึงเป็นช่วงเวลาที่ตื่นเต้นพอสมควร ครับ
รูปแบบการสอบ Viva -Voce Examination เริ่มต้นจาก Chairman กล่าวเปิด, แนะนำ Subject Expert และ Research Guide ตลอดจน Research Scholar และ Research topic จากนั้นให้ Research Scholar เริ่มนำเสนอ (Presentation) รายงานการวิจัย ใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที หลังเสร็จการนำเสนอก็เป็นช่วงเวลา ถาม-ตอบ
การเตรียมตัวสำหรับการสอบ Viva -Voce Examination
ผู้เข้าสอบควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบ Viva -Voce Examination และไม่ใช่สิ่งที่ผู้เข้าสอบต้องตกใจ เป็นเรื่องปกติที่จะกังวล แต่สามารถเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับวันสำคัญนี้ได้ โดยอาศัย 4 ขั้นตอนง่ายๆ คือ ทำความรู้จักกับดุษฎีนิพนธ์ ที่จะนำเสนออีกครั้ง,ฝึกฝนการตอบคำถามการสอบ,นึกถึง Examiner ( Examiner ที่แตกต่างกันมีลักษณะในการดำเนินการ Viva examinations ที่แตกต่างกัน การคิดถึง ความสนใจของ Examiner แต่ละท่านจะช่วยให้ผู้เข้าสอบทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นในการสอบ) และ ใช้ตัวช่วยที่มีอยู่ ใช้แนวทางที่มีโครงสร้างในการเตรียมสอบ และอย่าลืมทำตามแต่ละขั้นตอนเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้เข้าสอบมีความมั่นใจในการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าเตรียมตัวดี การสอบ Viva -Voce Examination ดำเนินการไปได้ด้วยดี สามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน Chairman ก็จะเรียกขานผู้เข้าสอบว่า ด๊อกเตอร์คนใหม่ (New Doctor) หรือเรียก ว่าด๊อกเตอร์นำหน้าชื่อผู้เข้าสอบ ทันที แล้ว Chairman จะกล่าวสรุป ขอบคุณ Examiner และผู้เกี่ยวข้อง และกล่าวปิดการสอบ Viva -Voce Examination หลังจากนี้รอทางมหาวิทยาลัยออกหนังสือรับรองการจบหลักสูตรแต่ในส่วนของใบปริญญาบัตรอาจต้องรอไปอีกระยะหนึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรอบหรือช่วงเวลาของการมอบปริญญาของแต่ละมหาวิทยาลัยนั่นเอง
สมัคร เรียนปริญญาเอกอินเดีย ขอ Visa (Research and Tourist Visa) ,แนะนำการเขียน Synopsis and Research ติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษา (Research Guide) ร่วมเดินทางไปเยี่ยมชมสถาบัน สมัครเรียน สอบ หรือ นำเสนอบทความ งานวิจัย
สนใจโทร. 07728 7111 , 08 5 791 9111 (อ.สมนึก) Line ID : Somnoek
ผู้เขียน เรียบเรียง
สมนึก ชูสุวรรณ
ค.อ.บ. พระจอมเกล้าลาดกระบัง
น.บ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วท.ม.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์